เมนู

เมนู

เมนูอาหาร ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับร้านอาหาร เป็นเหมือนหน้าตาของร้านที่สามารถสร้างความประทับใจแรกพบให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี ลองนึกถึงภาพของเมนูอาหารที่มีรูปภาพชัดเจน สีสันสวยงาม ไม่ซีดจาง ไม่ว่าใครได้มาเห็น ก็คงอยากลิ้มลองรสชาติของอาหารจริงๆ เป็นแน่ ดังนั้น ไม่ใช่แค่ไม่ควรมองข้าม แต่คุณจะต้องให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอน “การพิมพ์เมนูอาหาร” เลยด้วยซ้ำ และสำหรับ Neo Digital เราคือโรงพิมพ์ที่พร้อมจะเป็นผู้จัดการทุกเรื่องที่เกี่ยวกับงานพิมพ์ เรารับพิมพ์เมนูอาหาร หลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับคุณภาพ และความคงทน เราจึงเลือกใช้เนื้อกระดาษและการเคลือบระดับสูงในการพิมพ์เมนู เพื่อสร้างความคุ้มค่าแก่ลูกค้าให้มากที่สุด

 

ประเภทงานในหมวดหมู่นี้

  • เมนูเข้าเล่ม
  • เมนูแผ่นพับ
  • เมนูแบบไดคัท
  • เมนูตั้งโต๊ะ

ตัวอย่างผลงาน

การทำปก

ชนิดกระดาษ

โรงพิมพ์ของเรามีชนิดกระดาษที่หลากหลาย ได้มาตรฐาน พร้อมด้วยสีสันที่โดนใจ เอาไว้คอยให้บริการคุณ ในทุกรูปแบบที่คุณต้องการ

1. กระดาษอาร์ต กระดาษผิวเรียบเนื้อแน่น เหมาะสำหรับงานพิมพ์ 4 สี เช่น โปสเตอร์ โบรชัวร์ ปกวารสาร ฯลฯ มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ กระดาษอาร์ตมัน, กระดาษอาร์ตด้าน, กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า และกระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า คุณภาพของกระดาษจะแตกต่างกันไปตามแต่มาตรฐานของผู้ผลิต แต่โดยรวมแล้วมีราคาค่อนข้างสูง

2. กระดาษปอนด์ กระดาษเนื้อเรียบ สีขาว นิยมใช้ในงานพิมพ์สีเดียว เพราะถ้าพิมพ์ 4 สี จะไม่ได้ความมันเงาเทียบเท่ากระดาษอาร์ต จึงเหมาะสำหรับใช้ในการพิมพ์เนื้อในหนังสือ กระดาษหัวจดหมาย ฯลฯ

ขั้นตอนหลังการพิมพ์

นอกเหนือจากขั้นตอนการพิมพ์เมนูอาหาร แล้ว ในส่วนการรับทำ menu ของ Neo Digital นั้น คุณยังสามารถเลือกใช้ “เทคนิคการพิมพ์พิเศษแบบต่างๆ” เพื่อนำมาสร้างความน่าสนใจ ให้กับงานพิมพ์ menu ของคุณเพิ่มเติมได้อีกด้วย ดังนี้

1.เคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV) เป็นการเคลือบเงาเฉพาะบางบริเวณ เพื่อขับเน้นส่วนที่ต้องการให้โดดเด่นขึ้นมา เช่น โลโก้ ตัวอักษรสำคัญ หรือภาพ โดยก่อนการเคลือบเฉพาะจุด จะนิยมเคลือบส่วนอื่นๆ ด้วย PVC ด้านก่อน

2.เคลือบ UV เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยน้ำยาเงา แล้วจึงทำให้แห้งด้วยแสง UV การเคลือบในลักษณะนี้จะให้ความเงาสูงกว่าการเคลือบวานิช

การเข้าเล่ม

สำหรับการพิมพ์เมนูอาหาร แบบเป็นเล่ม จะมีวิธีการเข้าเล่ม (Binding) ให้เลือกอยู่หลากหลายรูปแบบด้วยกัน ดังนี้

1. เข้าเล่มแบบไสกาว (Perfect Binding) เป็นการนำกระดาษที่เรียงหน้าเรียบร้อยแล้ว มาไสด้านข้างแล้วนำไปทากาว นับเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เพราะสามารถเข้าเล่มได้อย่างเรียบร้อย ทั้งยังมีราคาถูก เหมาะสำหรับหนังสือที่มีความหนาประมาณ 70 หน้าขึ้นไป เช่น นิตยสาร, หนังสือเรียน และเนื่องจากความแน่นหนาในการเข้าเล่มไม่สูงนัก จึงทำให้ไม่สามารถกางหนังสือออกมามากๆ ได้ เพราะจะทำให้กระดาษหลุดออกจากไสกาว

2. เข้าเล่มแบบเย็บมุงหลังคา (Saddle Stitching) คือการนำเอากระดาษที่เรียงหน้าแล้วมาพับครึ่ง จากนั้นใช้เครื่องลวดเย็บลวดตรงแนวพับ 2-3 ตัว นับเป็นรูปแบบที่นิยมใช้กับการเย็บสมุด หรือหนังสือ ที่มีจำนวนหน้าน้อยๆ ไม่เกิน 80 หน้า

ขั้นตอนหลังการพิมพ์

เป็นขั้นตอนการเก็บงาน หรือเก็บรายละเอียดต่างๆ หลังจากส่วนของงานพิมพ์เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เช่น การเข้ารูปเล่ม, การเคลือบปก เป็นต้น โดยอาจแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ได้ ดังนี้

– การเคลือบและตกแต่งผิว หลังจากที่ได้งานพิมพ์ซึ่งมีลักษณะเป็นงานอยู่บนกระดาษแผ่นใหญ่มาแล้ว ขั้นตอนต่อไปโรงพิมพ์จะทำการเคลือบผิว หรือตกแต่งผิวด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะเป็นการเคลือบและตกแต่งผิวด้วยเทคนิคตามมาตรฐานโรงพิมพ์ทั่วๆ ไป อาทิ ปั๊มแผ่นฟอยล์, ปั๊มนูน, เคลือบ UV หรือทำ SPOT UV เป็นต้น

– การไดคัท เป็นการนำงานพิมพ์ที่ได้มาขึ้นรูปเป็นรูปลวดลายต่างๆ เป็นขั้นตอนที่ใช้ในงานบางประเภท เช่น งานทำฉลากสินค้าที่มีรูปทรงวงกลม ดาว หรือลวดลายต่างๆ เป็นต้น ซึ่งในขั้นตอนการไดคัทนี้ โดยทั่วไปแล้วจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมต่างหาก

– การเข้ารูปเล่ม เป็นขั้นตอนการนำงานพิมพ์ที่ได้มาเรียงหน้า และตัดขอบให้เรียบร้อย จากนั้นจึงนำไปเย็บรวมกันด้วยวิธีเข้ารูปเล่มตามที่กำหนด เช่น การเย็บกี่, การไสกาว เป็นต้น เพื่อให้ได้งานพิมพ์ที่สมบูรณ์ครบถ้วน

เราพร้อมให้บริการ และให้คำปรึกษาด้านการพิมพ์ทุกชนิด

เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจงานพิมพ์มากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีบริการงานหลังการพิมพ์ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ลูกค้าอาจต้องเจอ

images
images
images
images
images
images
images
images
images
images
images
images
images
images
images