แพคเกจ

แพคเกจ

ทุกการสร้างสรรค์ผลงานจากแผ่นกระดาษ สู่บรรจุภัณฑ์ 3 มิติ Neo Digital พร้อมแล้วที่จะให้บริการคุณ ด้วยงานพิมพ์ที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ และความคงทน มาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ละทิ้งสีสัน และความสวยงาม เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ตัวสินค้า ด้วยบรรจุภัณฑ์ งานพิมพ์ฝีมือทีมงานผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ ที่พร้อมให้คำแนะนำในทุกขั้นตอนการผลิต เราคือโรงพิมพ์กล่อง ที่รับงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ทุกประเภท

ประเภทงานในหมวดหมู่นี้

  • ผลิตกล่องครีม
  • ผลิตกล่องเครื่องสำอาง
  • ผลิตกล่องสบู่
  • ผลิตกล่องอาหารเสริม
  • ผลิตกล่องกระดาษ/ถุงกระดาษ
  • พิมพ์แพคเกจจิ้งอื่นๆ

ตัวอย่างผลงาน

ความหนาของกระดาษ

ในการพิมพ์แพคเกจจิ้งต่างๆ เช่น พิมพ์กล่องครีม, พิมพ์กล่องเครื่องสำอาง, พิมพ์กล่องสบู่ ฯลฯ ความหนาของกระดาษที่ใช้นั้นมีความสำคัญต่อการบรรจุสินค้าอย่างยิ่ง เพราะหากเลือกใช้กระดาษที่บางจนเกินไป ก้นกล่องก็จะไม่แข็งแรง ไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้
โดยทั่วไปแล้ว ความหนาของกระดาษส่วนใหญ่ที่ใช้ในงานพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ หรือกล่องสินค้า จะอยู่ที่ 250 – 350  แกรม แต่จะหนาแค่ไหนนั้น สามารถพิจารณาจากน้ำหนักของตัวสินค้าที่ต้องการบรรจุภายในได้เลย
และนอกเหนือจากกล่องกระดาษแล้ว การพิมพ์แพคเกจจิ้ง หรือบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษ ยังสามารถผลิตออกมาในรูปแบบอื่นได้อีกด้วย เช่น ซองกระดาษ, กระป๋องกระดาษ และถังกระดาษ

ชนิดกระดาษ

ในส่วนของกระดาษที่ใช้ในงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ นั้นก็มีอยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่นิยมใช้โดยทั่วไป ได้แก่ “กระดาษอาร์ต” ด้วยลักษณะของกระดาษชนิดนี้ ที่เนื้อจะแน่น มีผิวเรียบ จึงเหมาะสำหรับงานพิมพ์ 4 สี มีแบบย่อยให้เลือกอีก ซึ่งคุณภาพก็จะแตกต่างกันไป แล้วแต่มาตรฐานของผู้ผลิตรวมถึงราคาด้วย ดังนี้

1. กระดาษอาร์ตมัน เนื้อกระดาษจะเรียบ และเป็นมันเงา พิมพ์งานออกมาได้ใกล้เคียงกับสีจริง ทั้งยังสามารถเคลือบเงาได้ดี

2. กระดาษอาร์ตด้าน เนื้อกระดาษจะเรียบ แต่ไม่มันเงา เมื่อพิมพ์งานสีที่ได้จะซีดลงเล็กน้อย แต่ดูหรูหรากว่า

3. กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า เป็นกระดาษอาร์ตที่เหมาะสำหรับงานพิมพ์โปสการ์ด พิมพ์การ์ดปีใหม่ แลการ์ดอื่นๆ เนื่องจากการพิมพ์การ์ดนั้นต้องการกระดาษที่มีความหนา

4. กระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า เป็นกระดาษอาร์ตที่มีความแข็งแกร่งกว่ากระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า เหมาะสำหรับพิมพ์งานที่ต้องการพิมพ์แค่หน้าเดียว

5. กระดาษแฟนซีต่างๆเป็นกระดาษที่มีลวดลายในตัวเอง ทำให้งานพิมพ์ดูมีมูลค่าและคุณค่ามากกว่ากระดาษธรรมดา

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการออกแบบแพคเกจจิ้งหรือบรรจุภัณฑ์นั้นมีความหลายหลายและสร้างสรรค์มากขึ้น ซึ่งบางครั้งลูกค้าอาจต้องการงานในรูปแบบที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ดังนั้น การเลือกใช้กระดาษชนิดอื่นๆ จึงอาจเป็นทางหนึ่งที่สามารถช่วยสร้างความแตกต่างได้ ทั้งนี้ โรงพิมพ์ของเรายังมีกระดาษอีกหลายชนิดไว้เพื่อรองรับกับทุกความต้องการของคุณ ไม่ว่าสิ่งที่คุณต้องการจะเป็นแบบไหน

Neo Digital รับพิมพ์บรรจุภัณฑ์ทุกรูปแบบที่คุณต้องการ

เทคนิคการพิมพ์

ที่ Neo Digital คุณสามารถเลือกใช้ “เทคนิคการพิมพ์พิเศษแบบต่างๆ” เพื่อนำมาสร้างความน่าสนใจ ให้กับงานพิมพ์แพคเกจจิ้งของคุณเพิ่มเติมได้อีกด้วย ดังนี้

1.เคลือบ PVC เงา เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์ม PVC ชนิดผิวมันวาว ทำให้กระดาษมีความเรียบ คงทน และเงาสูง สามารถกันน้ำและทำให้ฉีกขาดยาก

2.เคลือบ PVC ด้าน เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์ม PVC ชนิดผิวด้าน นิยมทำกับงานพิมพ์ที่ต้องการความเรียบหรู สามารถกันน้ำและฉีกขาดยาก

3.เคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV) เป็นการเคลือบเงาเฉพาะบางบริเวณ เพื่อขับเน้นส่วนที่ต้องการให้โดดเด่นขึ้นมา เช่น โลโก้ ตัวอักษรสำคัญ หรือภาพ โดยก่อนการเคลือบเฉพาะจุด จะนิยมเคลือบส่วนอื่นๆ ด้วย PVC ด้านก่อน

5.เคลือบวานิช เป็นการเคลือบผิวกระดาษให้เงาด้วยวานิช ซึ่งให้ความเงาไม่สูงมากนัก แต่เน้นใช้เพื่อเสริมความทนทาน ป้องกันหมึกพิมพ์และผิวกระดาษจากการเสียดสีเป็นหลัก

4.เคลือบ UV เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยน้ำยาเงา แล้วจึงทำให้แห้งด้วยแสง UV การเคลือบในลักษณะนี้จะให้ความเงาสูงกว่าการเคลือบวานิช

1.ปั๊มไดคัท (Die cutting) เป็นการตัดกระดาษให้ขาดตามรูปทรงที่นักออกแบบกำหนดมา

2.ปั๊มฟอยล์เงิน/ทอง (Foil/Hot Stamping) เป็นการรีดกระดาษฟอยล์เงิน/ทอง หรือลายอื่นๆ ลงบนกระดาษ โดยมักใช้เน้นส่วนที่สำคัญ คล้ายกับการเคลืองเงาเฉพาะจุด เช่น ตัวอักษรสีทอง หรือขอบทองบนปก เป็นต้น

3.ปั๊มนูน (Embossing) เป็นการกดกระดาษให้นูนขึ้นตามรูปทรงที่นักออกแบบกำหนดมา

4.ปั๊มลึก (Debossing) จะตรงข้ามกับการปั๊มนูน คือ เป็นการปั๊มให้จมลงไปมากกว่าพื้นผิวปกติ

เราพร้อมให้บริการ และให้คำปรึกษาด้านการพิมพ์ทุกชนิด

เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจงานพิมพ์มากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีบริการงานหลังการพิมพ์ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ลูกค้าอาจต้องเจอ

images
images
images
images
images
images
images
images
images
images
images
images
images
images
images